ไม้กันชื้น คืออะไร?

Last updated: 6 เม.ย 2563  |  9481 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไม้กันชื้น คืออะไร?

แผ่นใยไม้อัดทนความชื้น HMR – High Moisture Resistance board


        แผ่นใยไม้อัดทนความชื้น หรือ ปาร์ติเกิล ไม้เอ็มดีเอฟผสมสารทนความชื้น ( High Moisture Resistance board - HMR) ผลิตโดยอัดประสานด้วยกาวชนิดพิเศษ ซึ่งช่วยเพิ่มแรงต้านการขยายตัวของความหนาเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง เช่น ห้องน้ำ , ห้องครัว ไม้ HMR เป็นไม้ที่มีความเรียบเนียน เหมาะกับงานตกแต่งภายใน built in furniture เพราะสามารถ เจาะ ไส ขึ้นรูป ได้สวยงามมากกว่า MDF ทั่วไป ทำให้การทำงาน Built in ง่ายขึ้น นอกจากนี้งาน built in furniture ในปัจจุบันนิยมทำให้เฟอร์นิเจอร์สูงชนเพดานห้อง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานจริงของลูกค้ามีไม้ขนาดใหญ่ สูงสุดได้ถึง 6x8 ฟุต

MDF ย่อจาก Medium Density Fiberboard  

HDF ย่อจาก High Density Fiberboard มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Hardboard     

       ไม้ทั้ง 2 ชนิด ต่างก็เป็น Fiberboard ชนิด Fiber – reinforced Composite โดยมี Formaldehyde Resin เป็นเนื้อหลัก และ Fiber ไม้เป็นเฟสเสริมแรง ถือเป็น Engineered Wood Product      
       

        Fiber ไม้ใช้ได้ทั้งไม้เนื้อแข็งและไม้เนื้ออ่อน ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็ง จะมีคุณสมบัติบางอย่างที่ดีกว่า เช่น  ความแข็งแรงทนทาน แต่ไม้เนื้อแข็ง/เศษไม้ หายาก ราคาแพง ทำผลิตภัณฑ์อื่นจะคุ้มกว่า  จึงมักใช้ไม้เนื้ออ่อน      
       

       ไม้ MDF และ  HDFทั้ง 2 ชนิดมีขบวนการผลิตที่ไม่แตกต่างกันมากนัก ต้องผ่านขบวนการกดอัดด้วยแรงอัดสูง (High Pressure) และผ่านความร้อนสูงเพื่อให้ Resin เกิดการ Curing และอบแห้ง      ด้วยแรงกดอัดที่ไม่เท่ากัน ทำให้ได้ไม้ Fiberboard ที่มีความหนาแน่นที่ต่างกันตั้งแต่ 500 – 1,000 Kg/m^3 จึงทำให้ได้ไม้ที่มีคุณสมบัติบางด้านแตกต่างกัน เรียกชื่อและนำไปใช้งานแตกต่างกันไป         

MDF จะมีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 700 – 720 Kg/m^3 หรือใกล้เคียง            

HDF จะมีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 800 – 1,040 Kg/m^3      

คุณสมบัติของ Fiberboard ขึ้นกับ            

   – ชนิดของ Fiber ไม้ที่ใช้ 

   – ชนิดของ Resin ที่ใช้ เช่น ส่วนมากใช้ Urea Formaldehyde ( UF ) มากกว่า Phenol Formaldehyde ( PF ) เพราะราคาถูกกว่า และ Curing ได้เร็วกว่า แต่การปล่อยสาร Formaldehyde (สารก่อมะเร็ง) ก็สูงกว่า การทนน้ำ PF จะดีกว่า UF หรือ การใช้ Resin บางชนิดที่ทนน้ำได้ดี     

การปล่อยสาร Formaldehyde จะบอกเป็นระดับ E            

E2 ปล่อยสาร Formaldehyde มากกว่า 0.124 mg/m^3         

E1 ปล่อยสาร Formaldehyde ต่ำกว่า 0.124 mg/m^3         

E0 จะปล่อยสารต่ำกว่า E1   50%  

ประเทศไทยผลิตภัณฑ์ไม้ยังปล่อยสารระดับ E2 และ E1

     ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น กำหนด E1 และ E0

-การใส่และชนิดของสารเคมีที่ใช้ในการรักษาและป้องกันเนื้อไม้จาก  ปลวก มอด เห็ด/รา และแมลงทำลายไม้

      ความหนาแน่นของไม้ จะเห็นได้ว่าถึงจะเป็น MDF หรือ HDF ต่างก็มีช่วงความหนาแน่นของไม้ในตัวเอง จึงทำให้น้ำหนัก ความแข็งแรง ความทนทาน การรับแรง การดูดซึมน้ำ การทนต่อความชื้น ฯลฯ แตกต่างกัน ซึ่งไม้ยิ่งมีความหนาแน่นมากคุณสมบัติก็ยิ่งดี แต่ราคาก็แพงเป็นเงาตามตัว        
   
      ดังนั้นคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ทำจาก Fiberboard ทั้ง 2 ชนิดจึงขึ้นกับ Fiberboard เอง และการเลือก เกรด/Class ของไม้ที่จะนำมาผลิตให้ถูกต้องกับงาน      

      ไม้ MDF มีความต้านทานต่อปลวกและราได้ดีระดับหนึ่ง แต่ Sensitive ต่อความชื้น      

      ไม้ HDF มีความต้านทานต่อปลวกและราได้ดีกว่า MDF และต้านทานความชื้นได้ดีกว่า

ผิว Melamine Surface

       ความทนทานต่อการขีดข่วน(Resistance to Scatches) ผลจากการทดสอบ:มาตรฐาน_> 1.5 N โดยประมาณ 150 g ไม่เกิดรอยขีดข่วนบนผิวหน้า
การทนทานต่อความร้อน ที่อุณหภูมิ 180 องศา โดยการวางภาชนะที่บรรจุน้ำมันที่อุณหภูมิ
180 องศาวางไว้ที่20นาที โดยที่ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพ

วิธีการทดสอบคุณภาพของไม้กันชื้น?

ไม้กันชื้นของพาเนล พลัส ใช้กระบวนการทดสอบคุณภาพของไม้ ที่เรียกว่า กระบวนการ 3 Cyclic Test หรือ V313
* นำไม้กันชื้นไปทดสอบโดยแช่ในน้ำ ควบคุมอุณหภูมิที่ 20±1°C เป็นเวลา 70±1 ชม.
* ต่อมานำชิ้นไม้ที่ทดสอบไปแช่เย็นไว้ในตู้เย็น ควบคุมอุณหภูมิที่ -12°C ถึง -25°C เป็นเวลา 24±1 ชม.
* หลังจากนั้นนำชิ้นไม้ที่ทดสอบอบในตู้อบ ควบคุมอุณหภูมิที่ 70±2°C เป็นเวลา 70±2 ชม.
* ทดสอบขั้นตอนตามกระบวนการนี้ทั้งหมด 3 ครั้ง หลังจากนั้นทดสอบการพองตัวของไม้และความต้านทานของแรงดึง ให้ได้ค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

วิธีการทดสอบคุณภาพของไม้กันชื้น?

ไม้กันชื้นของพาเนล พลัส ใช้กระบวนการทดสอบคุณภาพของไม้ ที่เรียกว่า กระบวนการ 3 Cyclic Test หรือ V313
* นำไม้กันชื้นไปทดสอบโดยแช่ในน้ำ ควบคุมอุณหภูมิที่ 20±1°C เป็นเวลา 70±1 ชม.
* ต่อมานำชิ้นไม้ที่ทดสอบไปแช่เย็นไว้ในตู้เย็น ควบคุมอุณหภูมิที่ -12°C ถึง -25°C เป็นเวลา 24±1 ชม.
* หลังจากนั้นนำชิ้นไม้ที่ทดสอบอบในตู้อบ ควบคุมอุณหภูมิที่ 70±2°C เป็นเวลา 70±2 ชม.
* ทดสอบขั้นตอนตามกระบวนการนี้ทั้งหมด 3 ครั้ง หลังจากนั้นทดสอบการพองตัวของไม้และความต้านทานของแรงดึง ให้ได้ค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

วิธีการใช้งาน?
ไม้ปาร์ติเกิลหรือไม้เอ็มดีเอฟเคลือบเมลามีน กันชื้นเหมาะสมในการใช้งานในที่ชื้น แต่ไม่มีการสัมผัสน้ำโดยตรง เช่น งานห้องน้ำ ใช้ทำประตู, พาร์ทิชั่นกันห้องน้ำ, งานจุดครัวใช้ทำตู้ใต้ซิงค์ หรือ ห้องครัวบิ้วอิน เป็นต้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้